ศัลยศาสตร์ในช่องปาก

Posted on: พฤษภาคม 20, 2013, by :

ศัลยศาสตร์ในช่องปาก (Oral Surgery)

 

Oral Surgery

An oral surgeon is a dentist who specializes in different aspects of surgery both in and around the mouth. They diagnose and treat defects, injuries, and diseases involving the head, mouth, teeth, gums, jaws, and neck.

 

 

Here at the Silom Dental Building we have developed procedures to remove teeth painlessly and an emphasis on saving as much of the supporting bone and gum tissues as possible. This is important because strong structures provide essential support for your implants, bridges, or dentures leading to the best possible functional and cosmetic results. An oral surgeon can carry out a wide range of procedures. We have outlined some of the more commonly practiced procedures below.

Oral Surgery

A number of conditions may require oral surgery, including:

Impacted Teeth

Wisdom teeth, otherwise known as third molars, are the last set of teeth to develop. Sometimes these teeth emerge from the gum line and the jaw is large enough to allow room for them, but most of the time, this is not the case. More often, one or more of these third molars fails to emerge in proper alignment or fails to fully emerge through the gum line and becomes entrapped or “impacted” between the jawbone and the gum tissue. Impacted wisdom teeth can result in swelling, pain, and infection of the gum tissue surrounding the wisdom teeth. In addition, impacted wisdom teeth can cause permanent damage to nearby teeth, gums, and bone and can sometimes lead to the formation of cysts or tumors that can destroy sections of the jaw. Therefore, dentists recommend people with impacted wisdom teeth have them surgically removed.

It”s not just wisdom teeth that sometimes become impacted and need to be removed. Other teeth, such as the cuspids and the bicuspids can become impacted and can cause the same types of problems described with impacted wisdom teeth.

Tooth Loss

Dental implants are an option for tooth loss due to an accident or infection or as an alternative to dentures. The implants are tooth root substitutes that are surgically anchored in place in the jawbone and act to stabilize the artificial teeth to which they are attached. Suitable candidates for dental implants need to have an adequate bone level and density, must not be prone to infection, and must be willing to maintain good oral hygiene practices.

Jaw-Related Problems

  • Unequal jaw growth. In some individuals, the upper and lower jaw fail to grow properly. This can cause difficulty in speaking, eating, swallowing, and breathing. While some of these problems — like improper teeth alignment — can be corrected with braces and other orthodontic appliances, more serious problems require oral surgery to move all or part of the upper jaw, lower jaw, or both into a new position that is more balanced, functional, and healthy.
  • Improve fit of dentures. For first-time denture wearers, oral surgery can be done to correct any irregularities of the jaws prior to creating the dentures to ensure a better fit. Oral surgery can also help long-term denture wearers. Supporting bone often deteriorates over time resulting in dentures that no longer fit properly. In severe cases, an oral surgeon can add a bone graft to areas where little bone remains.
  • Temporomandibular joint (TMJ) disorders. Dysfunction of the TMJ, the small joint in front of the ear where the skull and lower jaw meet, is a common source of headache and facial pain. Most patients with TMJ disorders can be successfully treated with a combination of oral medications, physical therapy, and splints. However, joint surgery is an option for advanced cases and when the diagnosis indicates a specific problem in the joint.

แนวทางการรักษาประกอบไปด้วย

* ถอนฟัน ( Tooth extraction)

* ผ่าฟันคุด (Impacted tooth removal)

 

ฟันกรามซี่ในสุดหรือที่เรียกกันว่าฟันคุดนั้น เป็นฟันกรามแท้ชุดสุดท้ายที่จะออกมาตอนช่วงอายุระหว่าง18 ถึง 20 ปี ซึ่งในความเป็นจริงฟันกรามชุดนี้ก็มิได้มีความแตกต่างจากฟันซี่อื่นๆเลย มีความสามารถในการบดเคี้ยวเท่าเทียมกับฟันกรามซี่อื่นๆ เพียงแต่น้อยคนนักที่มีฟันกรามขึ้นมาตามปกติพร้อมกับมีตำแหน่ง ลักษณะการขึ้นที่เหมาะสมและมีเหงือกโดยรอบที่มีสุขภาพดี

เมื่อไรก็ตามที่ฟันกรามซี่ในสุดมีอุปสรรคในการขึ้น อาจเนื่องจากลักษณะการงอกออกมา หรืออะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นฟันคุด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการเอ๊กซเรย์ดูลักษณะและตำแหน่งการวางตัวของฟันและวิเคราะห์ถึงความผิดปกติ ก่อนทำการหาวิธีการแก้ไข เนื่องจากฟันคุดเป็นสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก การติดเชื้อ โรคเหงือก การเป็นฝีในช่องปาก หรือ ส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียงสามารถผุได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนั้นทันตแพทย์โดยส่วนใหญ่จะแก้ปัญหานี้โดยการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุดออกไป

ในบางรายที่ถึงแม้ฟันกรามซี่ในสุดจะสามารถขึ้นมาได้อย่างปกติก็ตามทันตแพทย์ก็ยังอาจแนะนำให้ทำการถอนออกไป ถ้าเล็งเห็นว่าฟันซี่นั้นไม่มีประโยชน์ อาจมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยวและฟันซี่ข้างเคียง หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเหงือกหรือการอักเสบบริเวณนั้นได้ เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณด้านในสุดของช่องปากนั้นมีความยากลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ฟันกรามซี่หลังนั้นสามารถผุได้ง่าย รวมถึงการอักเสบของเหงือกอีกด้วย อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะพิจารณาอาการและปัญหาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไปของผู้เข้ารับบริการแต่ละบุคคล

โรคและอาการต่างๆที่มีสาเหตุจากฟันคุดมีดังนี้

  • คราบหินปูนและแบคทีเรียบนฟันและซอกเหงือก
  • สามารถเกิดการผุได้ง่ายเนื่องจากเป็นอุปสรรคในการทำความสะอาด
  • การเกิดต่อมน้ำหรือก้อนซีสในเหงือก
  • อาจก่อให้เกิดอาการปวดบวม
  • การอักเสบติดเชื้อ
  • โรคเหงือกและขากรรไกร

ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าฟันคุดเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีผลกระทบต่อการสบของฟัน
  • ไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน
  • มีการผุเยอะมาก
  • เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเหงือก หรือสามารถก่อให้เกิดปัญหาโรคเหงือก
  • เป็นสาเหตุให้การบูรณะฟันซี่ข้างเคียงทำได้อย่างยากลำบาก

ผู้ป่วยแต่ละบุคคลจะมีลักษณะการขึ้นของฟันและอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันแพทย์เกี่ยวกับความจำเป็นและวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุด

อาการต่างๆที่เกิดจากการที่ฟันคุดเริ่มงอกออกจากเหงือก

อาการต่างๆที่เกิดจากการที่ฟันคุดเริ่มงอกออกจากเหงือก

  • อาการปวดบริเวณเหงือก
  • เกิดการอักเสบติดเชื้อ
  • อาการบวมที่หน้า
  • อาการเหงือกบวมบริเวณแผลที่ผ่า

การเข้ารับผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง

 ขั้นตอนของการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด

    1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค

      – ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน

      – ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้

      – ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น

    2. การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด

– ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด

  1. ขั้นตอนการผ่าตัด

    – การผ่าตัดเปิดเหงือก

    – การถอนฟันคุดออก

    – การเย็บปิดปากแผล

  2. ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน

หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

คำแนะนำและข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุด

  • ประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
  • ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด
    และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่จนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  • ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
  • ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
  • สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  • สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
  • ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์